สาขาวิชาช่างไฟฟ้ากำลัง

หลักสูตร ปวช. ปวส.

การเรียนการสอน

- เลือก ใช้และบํารุงรักษาเครื่องมือวัสดุ อุปกรณ์ในงานอาชีพตามหลักการและกระบวนการ โดยคํานึงถึงความประหยัดและความปลอดภัย

- ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ เพื่อพัฒนาและสนับสนุนงานอาชีพ

- อ่านแบบ เขียนแบบเทคนิคและเลือกใช้วัสดุอุตสาหกรรม

- ประกอบ ทดสอบ วงจรอุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น

- เชื่อมโลหะและประกอบขึ้นรูปผลิตภัณฑ์โลหะแผ่นเบื้องต้น

- ปรับ แปรรูป และขึ้นรูปงานด้วยเครื่องมือกล

- บริการงานไฟฟ้าตามกฎและมาตรฐานทางไฟฟ้า

- ตรวจสอบและทดสอบวงจร ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

- อ่านแบบ เขียนแบบ ประมาณราคาระบบไฟฟ้าและระบบสื่อสาร

- ติดตั้งและทดสอบระบบไฟฟ้าในอาคาร นอกอาคารและระบบสื่อสาร

- พัน ประกอบ ทดสอบหม้อแปลงและมอเตอร์ไฟฟ้า

- ซ่อม บํารุงรักษาและทดสอบเครื่องกลไฟฟ้า

- ควบคุมมอเตอร์ไฟฟ้า

- ติดตั้ง ควบคุม ทดสอบระบบนิวเมติกและไฮดรอลิก

- ควบคุมระบบไฟฟ้าด้วยอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

- ติดตั้ง ตรวจซ่อมและบํารุงรักษาเครื่องทําความเย็นและปรับอากาศ


แนวทางการประกอบอาชีพ

- ช่างไฟฟ้า พนักงานตรวจซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าประจำบริษัท พนักงานรัฐและเอกชน ผู้ช่วยวิศวกรไฟฟ้า ช่างติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ ช่างซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้า เจ้าของกิจการซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าและติดตั้งเครื่องใช้ไฟฟ้า เจ้าของกิจการจำหน่ายเครื่องใช้ไฟฟ้า พนักงานการไฟฟ้า และอื่นๆ


รายได้ (เริ่มต้น)

- ภาครัฐ 6,000 – 15,000 บาท

- ภาคเอกชน 7,000 – 18,000 บาท

- อาชีพอิสระ ขึ้นอยู่กับความสามารถและประสบการณ์


การศึกษาต่อ

- สามารถศึกษาต่อในระดับ ปวส. และปริญญาตรีได้




หน้าที่และความรับผิดชอบ ครูผู้สอน

- การจัดทำแผนการจัดการเรียนการสอน ตารางเรียน ตารางสอน บัญชีวิชาเลือก จัดตารางสอนรวมและตารางส่วนบุคคลของแผนกวิชา

- ควบคุมดูแล ส่งเสริม กำกับ ติดตามการจัดการเรียนการสอน แก้ปัญหาเกี่ยวกับการเรียนการสอน การฝึกงาน การวัดผลประเมินผล และการวิจัยในแผนกวิชาให้เป็นไปตามหลักสูตรและระเบียบแบบแผนของทางราชการ

- วางแผนและดำเนินงานด้านมาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษาของแผนกวิชา เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาอย่างต่อเนื่องและรองรับการประเมินคุณภาพภายนอกได้

- จัดหาดูแลรักษาวัสดุ ครุภัณฑ์ อุปกรณ์ เครื่องจักร เครื่องมือของแผนกวิชาให้ใช้งานได้เป็นปกติ และมีเพียงพอต่อการจัดการเรียนการสอน

- สนับสนุนการพัฒนาการเรียนการสอน นวัตกรรม เทคโนโลยี และสิ่งประดิษฐ์ การใช้อุปกรณ์การเรียนการสอน การเขียนตำรา เอกสาร และใบช่วยสอนต่าง ๆ

- ติดตามและแนะนำเกี่ยวกับการทำโครงการฝึก โครงการสอน แผนการเรียนรู้ คู่มือครู ใบงาน ตลอดจนแฟ้มสะสมงาน โดยบูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้สอดคล้องกับหลักสูตรและแผนการจัดการเรียนการสอน

- ควบคุมการใช้วัสดุการศึกษา และลงทะเบียนผลิตผลของแผนกวิชาให้เป็นไปตามใบงาน

- ถอด ประกอบ บำรุงรักษาเครื่องยนต์แก๊สโซลีนและดีเซล ระบบเครื่องล่างรถยนต์ ระบบส่งกำลังรถยนต์ และระบบไฟฟ้ารถยนต์ตามคู่มือ

- ควบคุมดูแลและพัฒนาสำนักงาน ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ ให้สะอาดเรียบร้อยทันสมัยอยู่เสมอ

- ปกครองดูแลบุคลากรในแผนกวิชาให้ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบแบบแผนของทางราชการ และเสนอความดีความชอบของบุคลากรในแผนกวิชา

- ประสานงานและให้ความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา

- จัดทำปฏิทินการปฏิบัติงาน เสนอโครงการและรายงานการปฏิบัติงานตามลำดับขั้น

- ให้คําแนะนําพื้นฐานที่ต้องใช้การตัดสินใจและการปฏิบัติงานแก่ผู้ร่วมงาน

- ดูแล บำรุงรักษา และรับผิดชอบทรัพย์สินของสถานศึกษาที่ได้รับมอบหมาย

- ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย


รูปแบบเครื่องเเต่งกาย